Homework

มุมมองของเราสองคนที่เคยถามกันว่า การบ้านดีหรือไม่อย่างไร ในฐานะคนเคยทำการบ้านและสั่งการบ้าน

อ้างอิงจาก http://setthasat.com/2012/11/05/the-myth-about-homework/

QI : คุณมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้างละ?

บทความชิ้นนี้น่าสนใจมาก เพราะไม่ศรัทธาในระบบการบ้านเยอะๆ มานานแล้ว อาจด้วยที่ไม่ค่อยทำเสร็จ รู้สึกมันยาก แต่เอาเข้าจริงสังคมไทยพยายามบลีฟ ( Brief) ให้เด็กทำถูกให้หมดด้วย มันเลยดูน่าเบื่อมากๆ ชอบความเห็นนึงในเฟซบุ๊คเขาบอกว่า การบ้านไม่ได้วัดความฉลาดของเด็ก แต่สร้างวินัยให้เด็ก มันก็สอดคล้องกับบทความนี้เลยนะ สั่งน้อยๆ พอ ให้ใช้สัก 10 นาทีทำก็พอ เพราะมีเยอะใช่ว่าจะเก่ง เด็กที่มีแนวโน้มจะเก่งยังไงก็ใช้เวลามากกว่านั้นอยู่แล้ว พอนึกเข้าอีกอย่าง ถ้ามีการบ้านน้อย ได้ไปเล่นจริงๆ ทำกิจกรรม ได้คุยกับครอบครัว อะไรพวกนี้จะทำให้เด็กรักเรียนมากขึ้นได้นะ (เดา) เพราะโรงเรียนจะไม่ใช่ที่ๆ น่าเบื่อต้องมาทำอะไรเยอะๆ ที่สำคัญ พวกโรงเรียนที่ให้การบ้านน้อย เด็กกลับมีแนวโน้มจะเรียนเก่งกว่า ที่ให้การบ้านเยอะเกินไปด้วยนะ นี่น่าจะเป็นอีกอย่างที่สังคมไทย การศึกษาไทย ต้องรีบหาคำตอบให้ตัวเอง
ส่วนตัวผมจะบอกว่า ให้น้อยๆ ได้พอไปทำทบทวนจางๆ ไปเน้นที่เรื่องราวความสนุกของบทเรียน หรือกระตุ้นความอยากรู้พื้นฐานให้มากๆ ก่อนดีกว่า 🙂

QN : แล้วเธอละ ทำงานมาปีกว่าๆ เธอใช้วิธีการไหนกับเรื่องการบ้าน?

ตอนแรกเริ่มต้นจากสอนเทอมแรก เราให้เด็กทำการบ้านทุกอาทิตย์ พอจากนั้นอาทิตย์ที่สาม เรารู้สึกว่า เราเริ่มรู้ว่าเด็กแต่ละคนเป็นยังไง และใครเป็นต้นฉบับ มันทำให้เรารู้สึกว่า ไม่เอาละ สั่งไปมันก็ลอกกันมา ตรวจก็เหมือนเราก็มองหาแต่รหัสนิสิตที่ต้นฉบับ แต่ก็มีแรงต้านน้อยๆว่า เนี่ยต้องมีคนที่เราไม่ค่อยมองเห็นความตั้งใจของเขา เราก็ยังลองตรวจ ลองเปิดใจมากขึ้นเรื่อยๆ

แต่ว่ามันก็เหมือนเดิม เท่านั้นละ เราเลิกสั่งการบ้านเด็กละ เราให้เด็กทำในห้องนั่นละ เสร็จตอนไหนก็เลิกตอนนั้น จะดึกจะอะไรก็ว่ากันไป

แต่เราตกลงกับเด็กที่ทำได้ว่า ถ้าทำได้แล้ว ช่วยเพื่อน แต่ไม่ใช่ไปทำให้เพื่อน สอนเขาในสิ่งที่เรารู้ แล้วเราจะเก่งขึ้น ด้วยความที่เราจบมาใหม่ เด็กพวกนี้มันก็เหมือนน้องเรา เราก็อารมณ์เด็กด้วยละ ก็เหวี่ยงๆวีนๆ แต่เราตกลงกันแล้วว่า เราต้องเขียนโปรแกรมได้ ต้องคิด ทักษะต้องมีทุกคน คนนึงไม่เสร็จ ที่เหลือก็ต้องรอ #ซึ่งเราก็ทำแบบนั้นมาเรื่อยๆ มันอาจจะไม่ยุติธรรมสำหรับคนที่เก่งแล้ว เป็นแล้ว ที่ต้องรอ อีกหลายคนที่ยังทำไม่เสร็จ

เราไม่รู้นะว่าการบ้านมันจะดีไม่ดียังไง แต่บางครั้งเราก็ให้เด็กทำการบ้านนะ ตั้งเวลาไว้เลย ให้เวลาสองสามวัน ส่งก่อนเที่ยงคืน คนส่งช้าๆ ใกล้เวลาหรือเลยเวลา เราก็คาดไว้ว่า ต้องลอกมาส่งแน่นอน พอถึงคาบเรียน เราก็ถามในห้องเลยใครช้า ทำไม เพราะอะไร เพราะเราต้องการคำตอบ ถ้าไม่ได้ก็บอกไม่ได้ เราก็มาเริ่มกันใหม่

พอเทอมสองมา บอกตัวเองไว้ละ การบ้านจะมีให้น้อยที่สุด ให้ทำในห้อง ให้สอบในห้องไปเลย
ได้ไม่ได้ ท้ายคาบมาเฉลยกัน ไม่ได้ตรงไหนให้ถาม กล้าถาม กล้าเถียงกล้าพูด ไม่งั้นก็จะไม่สอน

#เราเลยรักเด็กปีสองมากเป็นพิเศษเพราะอยู่ด้วยกันมา 3 เทอม รู้หมดว่าใครเป็นยังไง เราไว้ใจเขา เราทำให้เขาไว้ใจได้ เรารู้สึกดีมาก 🙂 ตอนนี้เราสอนทั้งปี 1 แล้วก็ ปี 3 เราก็ยังใช้วิธีการเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนบ้าง เพราะเด็กโตกับเด็กเล็กไม่เหมือนกัน เราสอนเขาเหมือนพี่ เหมือนเพื่อน และเต็มที่เหมือนกันกับครู เป้าหมายเราเลยละตอนนี้  🙂

สรุปนะ

เราให้เด็กทำการบ้านน้อยมาก ถ้ามีก็ตั้งเวลาไว้ไม่เกินสองวัน เที่ยงคืน สอบในห้อง จับคู่ตั้งคำถาม เรียกเด็กตามรหัสนิสิตตอบคำถาม ตอบไม่ได้ให้เพื่อนช่วย ถ้าเราถาม เด็กต้องตอบ ตอบไม่ได้ให้ตอบว่า ไม่รู้ และไม่รู้ก็ต้องช่วยกันหาคำตอบ เราก็บ่นๆบ้าง ดุบ้าง แต่ว่าเราถือว่าเราเต็มที่กับทุกสิ่งละ ทั้งหมดของแรงที่มีอยู่ เรายังยืนยันว่า เราเชื่อมันในเด็กทุกคนที่เราสอนเสมอ ว่าเขาต้องทำได้ ได้ดีกว่าเราที่เราสอนเขาด้วย 🙂

4 thoughts on “Homework

  1. keyword “เด็กที่มีแนวโน้มจะเก่งยังไงก็ใช้เวลามากกว่านั้นอยู่แล้ว”

Leave a reply to Sukanya Cancel reply